กิจกรรม 31 มค.- 4 กพ. 2554 คะแนน 110 คะแนน


 ตอบ 2
อธิบาย
การที่ไขมันมีกลิ่นปกติขณะเก็บ การที่ไขมันจะเหม็นช้าหรือเร็ว ขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา เราควรเก็บไขมันและน้ำมันไว้ใรที่ที่ปิดมิดชิด การเหม็นหืนของไขมัน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางวเคมี 2 แบบ ดังนี้
anicandy_blue.gifการเหม็นหืนเนื่องจากออกซิเจน ในระหว่างที่เก็บ กรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จะได้สารเพอร์ออกไซด์ซึ่งมีกลิ่นหืน กรดไขมันมีแขนคู่หลายอันเหม็นหืนเร็วกว่ากรดไขมันที่มีแขนคู่เพียงอันเดียว ในช่วงแรก ปฏิกิริยาการเหม็นหืนจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ในช่วงหลังจะเร็วขึ้น การเติมไฮโดรเจนจะช่วยให้ไขมันเหม็นหืนช้าลงบ้าง น้ำมันพืชเหม็นหืนช้ากว่าน้ำมันสัตว์ ทั้งที่น้ำมันพืชมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวมากกว่า แต่น้ำมันพืชมีปริมาณวิตามินอีที่เป็นสารป้องกันออกซิเจนอยู่แล้วตามธรรมชาติ การเหม็นหืนของน้ำมันป้องกันได้โดยเก็บไขมันในภาชนะที่ทึบแสง อากาศเข้าไม่ได้ และต้องเก็บไว้ในที่เย็น
anicandy_blue_1.gifการเหม็นหืนเนื่องจากน้ำ วิธีนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าการเติมออกซิเจน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ นม เมล็ดพืชต่างๆ และอาหารที่แช่เย็นแข็ง การเหม็นหืนในที่นี้เกิดจากโมเลกุลของไขมันไตรกลีเซอไรด์ถูกย่อยด้วยน้ำย่อยไลเปสเมื่อมีน้ำอยู่ด้วย ได้ไขมันโมเลกุลส้นๆที่มีกลิ่นหืน คือ กรดบิวไทริค ไลเปสอยู่ในอาหารที่มีไขมัน ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน การเหม็นหืนจึงเกิดขึ้นเฉพาะในอาหารที่ผ่านความร้อนไม่สูงมาก หรือความร้อนที่ไม่มากพอที่จะทำลายเอนไซม์ การเหม็นหืนจึงป้องกันโดยใช้ความร้อนทำลายเอนไซม์ และระวังอย่าให้มีน้ำปนในไขมัน
 

ก่อนอื่นเราไปดูกันดีกว่าว่าต้นสายธารน้ำอัดลมมาจากไหน วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอย่างแรก คือ น้ำ ซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีการทำให้บริสุทธิ์ก่อน โดยนำน้ำบาดาลที่เก็บไว้ในถังพักมาผ่านถังกรองทราย เพื่อกำจัดสิ่งแขวนลอยออกไป จากนั้นจะผ่านเรซิน (resin) เพื่อกำจัดอิออน ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (ph) ให้ได้ประมาณ 6-7 เติมคลอรีนประมาณ 8 ppm (8 ส่วนในล้านส่วน) เพื่อฆ่าเชื้อโรค
น้ำบริสุทธิ์ที่ได้นี้จะนำมาใช้ในการเตรียมน้ำเชื่อมโดยต้มกับน้ำตาลทรายที่อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซสเซียส เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง น้ำเชื่อมที่ได้จะมีลักษณะขุ่น จึงต้องมีการฟอกสีและกรองก่อนที่จะทำให้เย็นลงทันทีจนมีอุณหภูมิ 20-25 องศาเซสเซียส จากนั้นนำน้ำเชื่อมที่ได้มาผสมกับหัวน้ำเชื้อ ซึ่งมากมายหลายชนิดแตกต่างออกไปตามชนิดของน้ำอัดลม
ในหัวน้ำเชื้อจะประกอบด้วยสารที่ให้กลิ่น สารให้สี และสารที่ให้รสเปรี้ยว ได้แก่ กรดชนิดต่างๆ น้ำหวานที่ได้จะถูกทำให้เย็นลงก่อนอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อทำให้ก๊าซละลายให้มากขึ้น แล้วจึงทำการปิดฝา

เอทธิลีน (C2H4, H2C = CH2) เป็นฮอร์โมนพืชตัวเดียวที่อยู่ในรูปแก๊ส เอทธิลีนเป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้น เพื่อใช้ควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาต่างๆ เช่นการออกดอก การสุกของผล พบในธรรมชาติ และในควันไฟ
ประวัติการค้นพบ
Cousins(1910) เป็นคนแรกที่เสนอว่าผลไม้มีการปลดปล่อยแก๊สซึ่งกระตุ้นการสุก เขาพบว่าส้มที่เก็บไว้ร่วมกับกล้วยจะสุกก่อนเวลา (premature)
Gane (1934) ชาวอังกฤษได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พืชสามารถสร้างเอทธิลีนได้ และเอทธิลีนทำหน้าที่เร่งกระบวนการสุก
Crocker et al. (1935) เสนอว่าเอทธิลีนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ผลไม้สุก และทำหน้าที่เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตในต้นพืชด้วย

การสังเคราะห์เอทธิลีน

เอทธิลีนเป็นแก๊สที่ไม่มีสี มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ติดไฟได้ง่าย เอทธิลีนถูกสร้างขึ้นในพืชและในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด สารต้นกำเนิดของเอทธิลีนในพืชคือ กรดอะมิโน เมทไธโอนีน โดยมีเอนไซม์ peroxidase เป็นตัวเร่งปฎิกริยา และมี flavin mononucleotide และ ion ของโลหะเป็น co-factor


 ตอบ 2
อธิบาย

ตอบ 4
อธิบาย ฝนกรดสามารถกัดกร่อนอาคารที่สร้างด้วยหิน
โดยเฉพาะหินปูนและหินอ่อนและวัสดุที่เป็นเหล็กทำให้ผุกร่อนเร็ว

 ตอบ 1
อธิบาย  กรดนอกจากจะสามารถทำปฏิกิริยาสะเทินกับเบสได้เกลือกับน้ำ แล้วยังสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น Zn, Fe, ได้ก๊าซ H 2 และเกลือของโลหะนั้น หรือทำปฏิกิริยากับเกลือคาร์บอนเนต เช่น CaCO 3 , Na 2CO 3 หรือเกลือ NaHCO 3 ได้ก๊าซ CO 2 ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่าง HCl กับ CaCO 3 จะได้เกลือและก๊าซ CO 2 HCl(aq) + CaCO 3 (s) ---------> CaCl 2 (aq) + CO 2 (g)
เบสก็เช่นเดียวกันนอกจากจะทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดได้เกลือกับน้ำแล้ว ยังสามารถทำปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนียมเช่น NH 4Cl, (NH 4) 2SO 4 , จะได้ก๊าซ NH 3 หรือทำปฏิกิริยากับเกลือ เช่นปฏิกิริยาระหว่าง NaOH กับ FeCl 3 ได้สารผลิตภัณฑ์ดังนี้
3NaOH (aq) + FeCl 3 (aq) ---------> Fe(OH) 2 (s) + 3NaCl (aq)
 ตอบ 2

อธิบาย
ไอโซโทป (Isotope) หมายถึงอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีโปรตอนเท่ากัน(หรืออิเล็กตรอนเท่ากัน )แต่มีเลขมวลและจำนวนนิวตรอนต่างกัน(หรือมีมวลต่างกัน)อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวนนิวตรอนอาจจะไม่เท่ากันก็ได้ ซึ่งมีผลทำให้มวลต่างกันอะตอมของธาตุดังกล่าวเรียกว่าเป็นไอโซโทป เช่น 12C,13C และ 14C เป็นไอโซโทปกัน (เลขอะตอม C = 6 ) สัญลักษณ์นิวเคลียร์จำนวนอิเล็กตรอนจำนวนโปรตอนจำนวนนิวตรอนไอโซโทปของธาตุบางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ เช่น ธาตุไฮโดรเจนมี 3 ไอโซโทป และมีชื่อเฉพาะดังนี้
11H เรียกว่า โปรเตรียม ใช้สัญลักษณ์ H
21H เรียกว่า ดิวทีเรียม ใช้สัญลักษณ์ D
31H เรียกว่า ตริเตรียม ใช้สัญลักษณ์ T



ตอบ 4
อธิบาย 
วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา


 ตอบ 3

อธิบาย
43.เราสามารถตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายได้ด้วยอินดิเคเตอร์ ซึ่งเป็นสารทีใช้บอกสมบัติบางอย่างในปฏิกิริยาเคมี โดยการเปลี่ยนสีหรือการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางอย่างที่มองเห็ได้ สารที่นำมาใช้ในการตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายต่างๆ เรียกว่า " อินดิเคเตอรสำหรับกรด-เบส (acid-base indicator)"
อินดิเคเตอร์ (indicator) คือ สารที่ใช้ตรวจสอบไฮโดรเนียมไอออน (H
3O) และไฮดรอกไซด์ไอออน (OH) ได้ เนื่องจากสารละลายที่เป็นกรดจะมีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนมากกว่าสารละลายทเป็นเบสกรดเป็นสารประกอบไฮโดรเจน เมื่อละลายอยู่ในน้ำจะแตกตัวให้ไฮโดรเนียมไอออน
เบสเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะหรืออนุมูลที่มีค่าเทียบเท่าโลหะ ซึ่งเมื่อละลายอยู่ในน้ำจะแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน
อินดิเคเตอร์แต่ละชนิดจะมีการตรวจสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายแตกต่างกัน อินดิเคเตอร์ที่นิยมใช้กันมากมี 2 ประเภท คือ กระดาษลิตมัสและยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์



ตอบ 4
อธิบาย สมบัติของสารประกอบไอออนิกจากลักษณะการสร้างพันธะไอออนิกซึ่งมีแรงยึดเหนี่ยวต่อเนื่องกันเป็นผลึก และลักษณะอะตอมของธาตุที่มีประจุเป็นไอออนบวกและไอออนลบรวมกันอยู่  ส่งผลให้สารประกอบไอออนิกมีสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
     1.  สารประกอบไอออนิกจะมีจุดหลอมเหวและจุดเดือดที่สูง เนื่องจากพันธะไอออนิกเกิดจากแรงยึดเหนี่ยวของประจุไฟฟ้าซึ่งมีความแข็งแรงสูง ยากต่อการทำให้แยกออกจากกัน อีกทั้งยังมีลักษณะการยึดเหนี่ยวที่ต่อเนื่องกันผลึก การที่จะทำให้สารประกอบไอออนิกเปลี่ยนสถานะจึงต้องอาศัยพลังงานจำนวนมากในการทำลายแรงยึดเหนี่ยว ดังนั้นสารประกอบไอออนิกจึงมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดที่สูงกว่าสารประกอบโคเวเลนต์
     2.  สมบัติที่สำคัญอีกประการของสารประกอบไอออนิก คือ เมื่อเป็นของแข็งจะไม่นำไฟฟ้า แต่จะนำไฟฟ้าได้ดีเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวหรือเมื่ออยุ่ในสภาพของสารละลาย เนื่องจากในสถานะของแข็งไอออนต่าง ๆ ซึ่งมีประจุไฟฟ้าจะถูกยึดเหนี่ยวกันอย่างเหนียวแน่น แต่เมื่อนำไปหลอมเหลวหรือนำไปละลายน้ำ โครงผลึกจะหลุดออกเสียสภาพไปทำให้ไอออนสามารถเคลื่อนที่ไปมาได้ สารประกอบไอออนิกจึงสามารถนำไฟฟ้าได้




ตอบ  0.3g/min


                                                                     ตอบ  5 วัน



ตอบ  50 วินาที





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น